30 พฤษภาคม 2554

กลอนดีๆครับ

เก่งน้อยค่อยบรรจงหมั่นฝึกฝน
ใจอดทนพากเพียรเรียนศึกษา
แม้นเหนื่อยยากบากบั่นมิเลิกรา
ใจสั่งว่าอย่าท้อ สู้ต่อไป
อันหนทางที่ยาวไกลหลายหมื่นลี้
ยังเริ่มที่หนึ่งก้าวใช่หรือไม่
แม้วันนี้ถึงจุดหมายยังอยู่ไกล
ขอแค่ใจไม่ยอมแพ้แค่นั้นพอ. 



ใครว่า "เด็กท่องจำ" จะคิดไม่เป็น
การที่ผู้ใหญ่บางส่วนเห็นว่าเด็กที่เอาแต่ท่องจำ จะเป็นเด็กที่คิดไม่เป็น เหตุเพราะสมองจดจำได้ก็เลยทำให้กระบวนการวิเคราะห์ไม่ทำงาน ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากการที่มนุษย์สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้มากมายจะช่วยให้เกิดกระบวนการคิดที่เป็นระบบและเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวได้ หลายประเทศจึงตื่นตัวกับการใช้ทักษะความจำอย่างสูง ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย "สมาคมความคิดสร้างสรรค์และความจำและการเล่น" จึงขอเป็นแม่งานในการจัดการแข่งขันความจำแห่งประเทศไทย (Thailand Open Memory Championships 2010)  ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
       
       "
ธัญญา ผลอนันต์" นายกสมาคมความคิดสร้างสรรค์และความจำและการเล่น เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการแข่งขันความจำว่า สังคมไทยให้ความสำคัญกับเรื่องความจำกันน้อย เพราะเราเชื่อกันว่า "เด็กไทยดีแต่จำ คิดไม่เป็น" จึงส่งเสริมให้เด็กฝึกแต่การคิดคำนวณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความจำกับความคิดเป็นของคู่กัน ถ้าเราจำไม่ได้ก็จะคิดไม่ออก ดังนั้นจะบอกให้เด็กจำอย่างเดียวก็จะไม่เกิดการเรียนรู้ จะต้องสอนให้เด็กจำและต้องคิดตามไปด้วย
       "
สังคมไทย ณ ตอนนี้กำลังก้าวไปสู่ยุคของการสร้างสรรค์และต้องการกระบวนการคิดที่มาจากการจดจำ ซึ่งการฝึกความจำเป็นเรื่องที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย และยังสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การจำแบบเชื่อมโยงโดยใช้จินตนาการเป็นตัวเสริม การจำตัวเลขก็อาจจะจำว่า เสาธง คือเลข 1, ห่าน คือ เลข 2, ปิระมิด คือ เลข 3....เห็นได้ว่าการที่จะสามารถจำได้นั้น จะต้องหาจุดเชื่อมโยงให้ได้ก่อน จากนั้นก็แต่งเป็นเรื่องราวต่างๆ ให้น่าจดจำ"
     
       "
อีกวิธีหนึ่งคือ การจำจากสิ่งของที่เรามีว่า เรานำมันไปวางไว้ที่ไหน ตอนไหน อย่างไร ยกตัวอย่าง การที่เราไปเที่ยวต่างจังหวัด เราก็จำว่าเราถ่ายรูปที่ไหน เขียนบันทึกที่จังหวัดอะไร หรือแวะซื้อของที่ไหนเป็นต้น หรือวิธีสุดท้ายที่ง่ายที่สุด โดยสามารถทำได้ที่บ้าน คือ การจำสิ่งของที่อยู่ภายในบ้านว่าของแต่ละชิ้นวางไว้ตรงไหนบ้าง ซึ่งจะช่วยเรื่องความจำและความสะดวกสบายในการหยิบสิ่งของมาใช้" นายกสมาคมฯ อธิบาย
     
       
การฝึกความจำควรหัดตั้งแต่เด็กที่เริ่มพูดได้ เพราะเขาจะได้ฝึกนำคำศัพท์ที่รู้จักมาเชื่อมโยงในเรื่องราวที่เขาจำด้วย และนำไปใช้ในการเรียนที่โรงเรียนได้ โดยเฉพาะวิชาที่อาศัยความจำ เช่น ประวัติศาสตร์หรือแม้กระทั่งวิชาคำนวณที่ต้องใช้สูตรต่างๆ และสามารถตอบคำถามที่เป็นนามธรรมได้ เพราะการฝึกเรื่องความจำนั้น เราจะฝึกโดยการนึกเป็นภาพก่อน ฉะนั้นเมื่อเจอคำถามนามธรรมก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนที่ฝึกการใช้ความจำอยู่เสมอ ตราบใดที่การจำนั้นมีความสนุกก็จะทำให้การเชื่อมโยงต่อเนื่องและสามารถจำข้อมูลได้ทั้งหมด

Free time activities - multiple choice